วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

2.ตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร

2.ตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร





"ตรีโทษ (Tri Dosha) หรือ วาตะ ปิตตะ กผะ" คืออะไร
  • ตามหลักทฤษฎีทางอายุรเวท ศาสตร์แห่งอินเดียระบุว่า การทำงานของกายและจิตของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยพลังงานพื้นฐาน 3 ส่วน เรียกว่า "ไตรโทษะ หรือ ตรีโทษ (Tri Dosha)" ได้แก่ วาตะ (Vata) ปิตตะ (Pitta) และ กผะ (Kapha) พลังเหล่านี้มาจากธาตุสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และอากาศธาตุ ที่รวมตัวกันเป็นจักรวาล ซึ่งก็คือส่วนประกอบของกายและจิตของเรานั่นเอง และตรีโทษทั้ง 3 นี้ มีบทบาทและหน้าที่ในร่างกายของเรา เช่นเดียวกับธาตุทั้ง 5 การบำบัดรักษาตามแนวทางอายุรเวทนั้น ผู้บำบัดจำเป็นต้องมีเข้าใจในเรื่องของ "ตรีโทษ" อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งแตกต่างจากการรักษาแบบตะวันตก...

► วาตะ (Vata)
  • วาตะ ประกอบด้วย "ธาตุลม" และ "อากาศธาตุ" มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • วาตะ หมายถึง ลมของร่างกาย อย่างไรก็ตามธาตุลมภายนอกในชั้นบรรยากาศต่าง ๆ ไม่มีคุณลักษณะ เช่น ลมในร่างกาย ลมของร่างกายหรือวาตะมีลักษณะคล้ายพลังที่บอบบางซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของชีวเคมี ทำให้เกิดการส่งผ่านที่ละเอียดอ่อนเข้าสู่ระบบการดูดซึม
  • วาตะ ควบคุมการหายใจ การกระพริบของเปลือกตา การเคลื่อนของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ การเต้นของหัวใจ รวมทั้งการยืดและหดของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของไซโตพลาสซึม (คือของเหลวของนิวเคลียส) และเซลล์ การส่งกระแสประสาทของเซลล์ประสาท 

  • วาตะ ยังควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกสดชื่น ตกใจ ความกลัว ความกังวลห่วงใย ความเจ็บปวด อาการสั่นสะท้านและการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ลำไส้ใหญ่ โพรงกระดูกเชิงกราน กระดูก ผิวหนัง หูและต้นขา เป็นตำแหน่งของวาตะ ถ้าร่างกายพัฒนาวาตะมากเกินไป ส่วนเกินเหล่านี้จะถูกสะสมอยู่ในตำแหน่งที่กล่าวมานี้

► ปิตตะ (Pitta)
  • ปิตตะ เป็นส่วนประกอบของ "ธาตุไฟ" มีหน้าที่เผาผลาญอาหารและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย รวมทั้งช่วยในเรื่องการมองเห็น

  • ปิตตะ ควบคุมการย่อยอาหาร การดูดซึม การดูดซับธาตุสารอาหาร ขบวนการเผาผลาญอาหารให้เกิดพลังงานอุณหภูมิของร่างกาย สีผิว ความสุกใสแวววาของดวงตา รวมทั้งความฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ สรีระวิทยาส่วนกายภาพ 
  • ปิตตะ ก่อให้เกิดความโกรธ ความเกลียดและความอิจฉาริษยา ตำแหน่งที่ตั้งของปิตตะได้แก่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร ตับอ่อน มวลเลือด ไขมัน ดวงตาและผิวหนัง

► กผะ (Kapha)
  • กผะ ประกอบด้วย "ธาตุดิน" และ "ธาตุน้ำ" มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและให้ความชุ่มชื้น รวมทั้งช่วยในการหล่อลื่นของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ของเหลวที่อยู่ตามข้อต่อของกระดูกต่าง ๆ หรือตามเยื่อบุต่าง ๆ
  • น้ำเป็นองค์ประกอบใหญ่ของ กผะ และน้ำในร่างกายช่วยขับเคลื่อนขบวนการสรีระวิทยาเพื่อให้มีแรงต้านทานธรรมชาติของเนื้อเยื่อ ในร่างกาย กผะช่วยให้การประสานของธาตุสมบูรณ์: ทำความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ช่วยสมานบาดแผล เติมพื้นที่ว่างของร่างกาย ให้กำลังทางชีววิทยาของร่างกายแข็งแกร่ง เกิดกำลังและเสถียรภาพ: รักษาพื้นที่ความทรงจำ ให้พลังงานแก่หัวใจ ปอดและระบบภูมิคุ้มกันหลัก
  • พื้นที่ของกผะ ได้แก่ ช่องอก (เต้านม) ลำคอ ศีรษะ โพรงไซนัส จมูก ปาก กระเพาะอาหาร ข้อต่อต่าง ๆ สารน้ำที่หล่อเลี้ยงนิวเคลียสของเซลล์ สารน้ำในโลหิตและน้ำเหลือง รวมทั้งของเหลวต่างๆในร่างกายเช่น เยื่อเมือก
  • การทำงานทางสรีระนั้นกผะ ตอบสนองต่อารมณ์การยึดติด ความโลภ ความอิจฉาริษยา กผะยังครอบคลุมถึงความอ่อนไหว ความเฉื่อยชา การให้อภัยและความรักด้วย

► ความสมดุลย์ของตรีโทษเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ
  • ตัวอย่างเช่น ลมช่วยให้ไฟกำเริบ (แรงขึ้น) แต่น้ำก็จะควบคุมไฟ ไม่เช่นนั้นแล้วร่างกายอาจจะถูกไฟทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย วาตะขับเคลื่อนกผะและปิตตะ เนื่องจากกผะและปิตตะอยู่ในสถานะที่ไม่เคลื่อนไหว การพึ่งพาซึ่งกันและกันของโทษทั้งสาม ตรีโทษควบคุมขบวนการเผาผลาญอาหาร เพื่อนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กผะทำลายส่วนที่หมดอายุหรือส่วนที่เสื่อมสภาพ วาตะเผาผลาญให้เกิดพลังงาน
  • เมื่อใดที่วาตะเสียสมดุลย์ขบวนการเผาผลาญอาหารจะถูกทำลาย ผลก็คือเกิดการทำลายมากเกินควร ซึ่งทำให้เกิดการแตกหัก หรือเสื่อมถอยของระบบร่างกาย เมื่อใดที่ขบวนการเสริมสร้างทำงานมากกว่าขบวนการทำลายโครงสร้าง เนื้อเยื่อจะเติบโตและงอกอย่างผิดปกติ

  • ปิตตะกำเริบ  รบกวนขบวนการเผาผลาญและดูดซึมสารอาหาร
  • กผะกำเริบ ทำให้การเสริมสร้างมากเกินควร
  • วตะกำเริบ ทำให้การเสื่อมสลายมากเกินควร
  • "ในวัยเด็ก" วัยแห่งการเสริมสร้างกผะมีอิทธิพลมาก (เนื่องจากเป็นช่วงเวลาของการเจริญเติบโตของร่างกาย)
  • "ในวัยผู้ใหญ่" ขบวนการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน ปิตตะมีอิทธิพลอย่างชัดเจน เพราะว่าขณะนี้ร่างกายเติบโตเต็มที่และเสถียรภาพ เป็นวัยแห่งการทำงาน
  • "ในวัยชราภาพ" ขบวนการสลายและการทำงานของวาตะชัดเจนมากเนื่องจากร่างกายเข้าสู่การเสื่อมถอย....
  • "ฤดูร้อน" ความร้อนแรงในฤดูร้อนจะทำให้ชาวปิตตะ ยิ่งเสียสมดุล อาจเกิดอาการเป็นไข้เพราะความร้อนและการสูญเสียน้ำ
  • "ฤดูฝน" อากาศที่เย็นและชื้นในฤดูฝนจะทำให้ชาววาตะหรือธาตุลมในร่างกายเสียสมดุล ดังนั้นจึงมีคนเป็นหวัดกันมากในฤดูฝนนี้
  • "ฤดูหนาว" ในฤดูหนาวคุณอาจสังเกตุว่าข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายคุณฝืดเคลื่อนไหวไม่สะดวก ผิวพรรณที่เคยผุดผ่องในฤดูร้อนก็ดูซีดเซียวและแห้งคล้ำในฤดูหนาว นั่นเป็นเพราะฤดูหนาวจะมีอากาศที่แห้งและเย็น ผิวพรรณจึงขาดความชุ่มชื้น และข้อต่อต่าง ๆ เมื่อถูกอากาศเย็นและแห้งมาก ๆ ก็จะเคลื่อนไหวไม่สะดวกนั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น