วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปวดหัว ปวดบ่า ปวดคอ คอเสื่อม

ปวดหัว ปวดบ่า ปวดคอ คอเสื่อม ปวดร้าวขึ้นศรีษะเหมือนเป็นปวดไมเกรน
อาการที่เราทุกคน อาจมองข้าม เมื่อรู้ก็เรื้อรัง หรือรักษาผิด
ลองอ่านสิค่ะ
อ่านแล้วกดแชร์...ด้วยนะคะ
• ปวดคอ หนักๆ บนบ่าตลอดเวลา บ้างก็บ่นว่าเหมือนมีอะไรนั่งบนบ่า บ้างก็เหมือนมีอะไรขี่คออยู่ นี่เป็นคำบ่นจากเคสที่มีอาการปวดบ่า ปวดคอนะคะ จริงๆ แล้วอาการที่รู้สึกเช่นนี้มาจากกล้ามเนื้อบ่า ซึ่งมีจุดเกาะที่กระดูกคอ โยงลงมาที่บ่านั้น เกร็งตัวค้างอยู่ตลอดเวลา (muscle holding เป็นอาการที่เกร็งค้างไม่มีการคลายตัวออก เคสจึงรู้สึกหนักตลอดเวลา)
• ปวดก้านคอร้าวไปที่กระบอกตา เหมือนตาจะปิดตลอดเวลา บางครั้งตาพล่ามัว มองไม่ชัด ลืมตาไม่ขึ้น และบางครั้งก็มีหูอื้อด้วย อาการปวดร้าวเข้ากระบอกตานี้พบบ่อยมากค่ะ ปวดก้านคอพร้อมปวดกระบอกตา เนื่องจากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงในกระบอกตาผ่านเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ
ซึ่งเชื่อมกับกล้ามเนื้อบริเวณก้านคอ และที่สำคัญอาการนี้เป็นอาการปวดร้าวจากความตึงหรือเกร็งตัวมากกว่าปกติของกล้ามเนื้อใต้ฐานกระโหลก (refer pain of suboccipital muscle) กล้ามเนื้อมัดนี้จะเกร็งตัวตลอดเวลาที่เรานั่งทำงานก็ว่าได้ค่ะ เพราะเวลาเรานั่งจ้องจอคอมฯ หรือเพ่งกับงานอะไรบางอย่างบนโต๊ะ คอจะก้มไปด้านหน้า คางจะยื่น นี่เป็นท่าที่กล้ามเนื้อมัดนี้ เกร็งค้างอยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ
• ปวดก้านคอร้าวขึ้นขมับ ขึ้นกระโหลกศีรษะ หนักหัว ตึงไปทั้งหัวเหมือนเป็นไมเกรน อาการนี้เป็นปัญหากับหลายๆ เคสค่ะ บางเคสเข้าใจว่าตัวเองเป็นไมเกรนมากว่า 3-4 ปี แต่ก็พึ่งมาพบสาเหตุที่ชัดเจนกับอาการของตัวเองที่เป็นค่ะ อาการปวดร้าวขึ้นขมับหรือปวดร้าวขึ้นศีรษะนี้ เป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อของคอ แล้วไปกดหรือบีบรัดการไหลเวียนของเส้นประสาท (Greater occipital nerve) จึงรู้สึกร้าวขึ้นที่ศีรษะ บางเคสปวดขมับเหมือนเป็นไมเกรน
การแยกอาการนี้ออกจากไมเกรนไม่ยากเลยค่ะ สาเหตุของไมเกรนนั้นเกิดจากเส้นประสาทที่อยู่ในผนังหลอดเลือดไวต่อการรับรู้ จะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาการปวดจะรุนแรงมาก อาจมีร่วมกับอาเจียน ฯลฯ และอาจถูกกระตุ้นด้วยสี แสง หรือความร้อน เป็นต้น แต่การปวดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อนั้น
• ตื่นมาเหมือนคนคอตกหมอนบ่อยๆ รู้สึกขัดที่ก้านคอ พาลให้ปวดหัวตอนเช้าๆ หันคอ เอี้ยวคอไม่สุด ปวดเมื่อเคลื่อนไหว แต่พอสายๆ หรือทำโน่นทำนี่อาการขัดๆ ก็บรรเทาลง เคสที่มีอาการเหมือนข้อนี้ มักเสียเงินไปกับการเปลี่ยนที่นอนหรือเปลี่ยนหมอนบ่อยมากค่ะ
บางเคสบอกผู้เขียนว่าเขามีหมอนเป็นสิบใบสลับกันนอนอยู่ ฟังแล้วก็สงสารค่ะ ท่านใดที่ไม่ปวดจะไม่ทราบเลยว่าความทรมานของร่างกายนั้นทำให้ต้องดิ้นรนทุกทาง หากมีทางไหนที่พอจะบรรเทาได้ก็จะหาหนทาง แต่การแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนหมอนนั้นอาจไม่ใช่การแก้ที่ตรงจุดซะทีเดียวค่ะ
สาเหตุของอาการปวดคอ ไหล่ติด สะบักจมมักจะเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นนอนหมอนที่ไม่รองรับต่อสรีระบริเวณคอและบ่า เช่น หมอนสูง หรือต่ำ เกินไปสลัดคอแรงๆ บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาเมื่อยมากๆ ยิ่งเมื่อย ยิ่งสะบัดแรงใช้คอและไหล่หนีบโทรศัพท์เป็นนิสัย หรือก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ
การทำงานที่จำเป็นต้องเกร็งศีรษะ ค่า บ่า ไหล่ ตลอดเวลา เช่น นั่งพิมพ์งาน ยกของหนัก ขับรถ สะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไป โดยไม่มีการเตรียมพร้อม-ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และพักระหว่างวันเท่าที่ควร
การออกกำลังกายเกินกำลัง หรือออกกำลังกายโดยไม่ยืดหยียดกล้ามเนื้อให้มีความพร้อมก่อนออกกำลัง และไม่ยืดเหยียดผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลัง
ชอบนั่งหลับ สัปหงก ทำให้เกิดการกระตุก เกร็งกล้ามเนื้อคอบ่อยๆ
อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวรุนแรง เช่น รถชนท้าย คอกระชากไปหน้า-สะบัดไปหลัง
พฤติกรรมต้นเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งเรามักทำเป็นนิสัยโดยไม่รู้ตัว คือ “ความเครียด” (บางคนนั่งทำงานขมวดคิ้ว ย่นหน้าผาก เกร็งใบหน้า ทั้งวัน ไม่ยอมผ่อนคลาย จนเกิดริ้วรอยก่อนวัย)
เนื่องจาก ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กล้ามเนื้อ และหลอดเลือดหดเกร็ง นอกจากจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าแล้ว ความเครียดยังเป็นตัวการสร้างอนุมูลอิสระภายในร่างกาย เป็นบ่อเกิดของโรคแห่งความเสื่อมทั้งหลาย อย่างเช่น โรคความดันโลหิต เบาหวาน หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
เรื่องการป้องกัน เราส่วนใหญ่ทราบกันดีอยู่แล้ว เช่น ไม่นั่งทำงานในท่าเดียวนานเกินไป ขยับร่างกายเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นต้น แต่ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น เราอาจไม่สามารถรู้ตัวหรือป้องกันได้ตลอดเวลา บางครั้งกว่าจะรู้ตัวอีกที ก็เกิดอาการขึ้นเสียแล้ว
ถ้ามีอาการนี้ เรามีวิธีฟื้นฟู ด้วยวิธีธรรมชาติ ปลอดภัยต่อร่างกาย ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมปรึกษาฟรี
โทร 0891037967 คุณชุติมา
คลิ๊กลิ้งค์สอบถามเพิ่มเติม
https://line.me/R/ti/p/%40chudboon

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

การทำงานของร่างกายตามแนวทางแพทย์แผนไทย

การทำงานของร่างกายตามแนวทางแพทย์แผนไทย
  • กายหยาบเราประกอบด้วยธาตุสี่ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้มารวมกันของธาตุทั้งสี่แล้ว ยังจะเกิดช่องว่างอยู่ระหว่างการรวมตัวของธาตุทั้งสี่นั่นคืออากาศธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่มีไม่มีความหนาแน่น (อากาศธาตุเป็นปลายทางของพลังงานเพราะไม่มีศักย์ใดๆ) มาดูกันครับว่าแต่ละธาตุทำหน้าที่อะไรกันบ้าง
  • ธาตุดิน(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือผลดีปลี) คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะมีความคงรูป เช่น อวัยวะต่าง ๆ ธาตุดิน มี 20 ประการ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เนื้อเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เยื่อในสมอง อาหารใหม่ อาหารเก่า (อาหารใหม่คือลมหายใจและสารอาหาร หมายถึงสิ่งที่ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องใช้ ต้องได้รับ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนคลอดออกมา เพื่อการมีชีวิตอยู่ อาหารเก่าหมายถึงอาหารใหม่ที่ถูกย่อยและจำแนกว่าเป็นของไม่มีประโยชน์แล้ว หรือ เป็นสารพิษเพื่อทำการทำลายและขับถ่ายต่อไป) ดินจะคงอยู่ ให้พลังงาน ไฟ และ ลม ผลักดันผ่านตัวกลางคือ น้ำ เป็นตัวนำพาไปสู่ขบวนการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายและการหมุนเวียนสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้าออกร่างกาย เพื่อนำไปสู่การมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข
  • ธาตุน้ำ(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือรากช้าพลู) คือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเป็นน้ำ เป็นของเหลว มีคุณสมบัติ ไหลไปไหลมา ซึมซับไปในร่างกาย อาศัยธาตุดินเพื่อการคงอยู่ อาศัยธาตุลมเพื่อการเลื่อนไหล ธาตุน้ำภายในมี 12 ประการ ได้แก่ น้ำดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำปัสสาวะ (ระบบไหลเวียนต่างๆในร่างกาย)
  • ธาตุลม(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือเถาสะค้าน) คือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีความเบา มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ ธาตุลมอาศัยธาตุไฟและธาตุน้ำ เป็นเครื่องนำพาพลังให้เกิดความเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันธาตุลม ก็ช่วยพยุงธาตุดิน ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้ (ระบบควบคุมหรือระบบประสาท) เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน ธาตุลมมี 6 ประการ(แบ่งเป็นลมละเอียดที่ใช้ควบคุมและลมหยาบที่เกิดขึ้นจากระบบหายใจหรือลมในลำไส้)
    • ลมพัดจากเบื้อล่างสู่เบื้องบน (อุทธังคมาวาตา) รับรู้ความรู้สึกส่งไปยังสมอง
    • ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง (อโธคมาวาตา) สมองรับความรู้สึกและสั่งการ
    • ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้ (กุจฉิสยาวาตา) ลมที่ใช้บีบรัดผนังท่อลำไส้ ลำเลียงอาหารใหม่-เก่า และท่อกรวยไตบีบรินน้ำเสียไปยัง กระเพาะปัสสาวะ
    • ลมพัดในกระเพราะอาหารและลำไส้ (โกฎฐาสยาวาตา) ลมที่เกิดจากการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ เกิดของเสียในไส้
    • ลมพัดทั่วร่างกาย (อังคะมังคานุสารีวาตา) ลมที่ไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย
    • ลมหายใจเข้าออก (อัสสาสะปัสสาสะวาตา) ลมที่รับเข้าทางหลอดลม(ลมเข้าคืออาหารใหม่เพื่อรับอ๊อกชิเจนO2)ออกทางหลอดลม(ลมออกคืออาหารเก่าเพื่อระบายคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ CO2)
  • ธาตุไฟ(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือรากเจตมูลเพลิง) คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต มีลักษณะที่เป็นความร้อน มีคุณสมบัติ เผาผลาญให้แหลกสลาย ธาตุไฟทำให้ลมและน้ำในร่างกายเคลื่อนที่ด้วยพลังความร้อนอันพอเหมาะ ไฟทำให้ดินอุ่น คืออวัยวะต่างๆไม่เน่า ธาตุไฟมี 4 ประการคือ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี) ปกติร่างกายอุณหภูมิ 37องศาเซลเซียส
  • ไฟที่ทำให้ระส่ำระสาย (ปริทัยหัคคี) ชื่อเรียกไฟที่มากมากเกินหรือน้อยเกิน อุณหภูมิแวดล้อมต่ำมากนี้ระบบลมอัตโนมัติ(ประสาท)จะสั่นกล้ามเนื้อ(เวลาหนาวเราจะตัวสั่น)ให้ร่างกายอุ่นขึ้น ตรงข้ามหากอุณหภูมิร่างกายสูงเช่นขณะตอนเล่นกีฬาออกกำลังกายไฟมากเกินอุณหภูมิร่างกายสูง ระบบลม อัตโนมัติ (ประสาท)จะระบายความร้อนด้วยน้ำเหงื่อ ผ่านรูขมขน
  • ไฟที่ทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม (ชิรณัคคี) หากอยู่ในวัยเด็กไฟนี้จะทำให้เรากลายเป็นหนุ่มสาว
  • ไฟย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ที่ตั้งอยู่ที่ตับ ไปทำงานที่ กระเพาะ ลำไส้
  • ธาตุอากาศ(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือเหง้าขิง) คือช่องว่างของการรวมกันของธาตุต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่สุดที่เรามองเห็นได้ สำหรับผู้ชาย ก็คือ ทวารทั้ง 9 สำหรับผู้หญิง ก็คือ ทวารทั้ง 10 นั้นเอง
  • การมี พลังงานใดมากเกินไป เราจะเรียกว่า กำเริบ และ พลังงานใด น้อยเกินไปจะเรียกว่า หย่อน ก็จะแสดงอาการต่างๆหากปล่อยให้ดำเนินไปไม่แก้ไขปรับเปลี่ยนรักษา ให้เกิดสมดุลธาตุ ในที่สุดก็จะป่วยเป็นโรคต่างๆถึงตรงนี้เราเรียกว่า พิการ และโรคกระทำต่อธาตุดินแต่ส่วนใดพิการ ก็ได้ชื่อโรค ตามแต่ตำราหรือคัมภีร์ ได้สมมุติชื่อขึ้น

การรักษาสุขภาพร่างกายให้สมดุลขณะที่ร่างกายเข้าสู่วัยเสื่อมถอย นั้นทำได้ดังนี้ 
    • 1) กินอาหารหลากหลายกินสมดุลลดส่วนเกินที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย (เสริมธาตุดินให้แข็งแรง)
    • 2) เพิ่มทานผัก ผลไม้เพื่อช่วยย่อยได้ง่ายและขับถ่ายของเสียออกตามทวาร(อากาศธาตุช่องว่างของร่างกาย)ได้ดีขึ้น
    • 3) ลดอาหารหวานมันเค็มเพื่อลดภาระการทำงานของไฟธาตุ ตับและไต(ตับที่ตั้งของธาตุไฟที่ใหญ่ที่สุด) ที่อ่อนกำลังตามอายุที่มากขึ้น
    • 4) ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอให้เหมาะกับวัยเพื่อให้หัวใจแข็งแรงกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง เสมหะ(ให้ธาตุลมผลักดันธาตุน้ำลื่นไหลไปส่งสารอาหารทั่วร่างกายและน้ำเหลืองไปกำจัดเชื้อโรค)ไหลเวียนดี
    • 5) ทำใจคิดบวกเพื่อลดความเครียดและลดการทำงานของหัวใจ ให้ควบคุมหทัยวาตะ (ฝึกระบบควบคุมของร่างกาย ธาตุลม) ทำงานอย่างปกติ
    • 6) พักผ่อนให้เพียงพอนอนก่อนสี่ทุ่มให้ร่างกายได้ซ่อมแซม และเวลาพักผ่อนคือเวลาให้ร่างการได้พื้นและกระตุ้นขบวนกาทำงานระบบต่างๆของร่างกาย 
  • ทั้งหมดเพื่อให้ ปิตตะ(ไฟ) วาตะ(ลม) เสมหะ(น้ำ) ทำอยู่ร่วมกัน ควบคุมกัน ส่งเสริมกัน ทำงานไปด้วยกันได้ดี ตามธรรมชาติ เพื่อชลอความเสื่อมของร่างกายและลดโรคในกลุ่ม NCD (Non Communicable Diseases) โรคความดันสูง โรคเบาหวาน เส้นเลือดอุดตัน หัวใจขาดเลือดและ โรคอ้วน

เรียบเรียงและแปลความโดย นายณัฐวัทส์ บ่างศรีวงษ์
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ ตำราแพทย์แผนโบราณสาขาเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
#จินตะวัน ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงมีความสุขทั่วหน้าครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้เรื่อง ธาตุเจ้าเรือนของท่านที่ได้ติดตัวมาแต่เกิด เทียบกับสมดุลธาตุปัจจุบันของท่านเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนสุขภาพได้โดย
แอดไลน์ไอดี @jintawan
https://line.me/R/ti/p/%40jintawan
โทร: 096-6789911 หรือ 096-6939944
เว็บไซด์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม : www.jintawanherb.com