วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

3.ชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว

3.ชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว




ชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
  • วิธีค้นหา "ตรีโทษ-วาตะโทษ (Tri Dosha-Vata)" ประจำตัวของคุณ โดยถ้าคุณมีธาตุลมและอากาศธาตุมากกว่าธาตุอื่น ๆ คุณก็ถือว่าเป็นชาววาตะ(Vata) หรือมีวาตะเป็นธาตุประจำตัว 
  • แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีธาตุประจำตัวใด? คุณสามารถสังเกตุได้จากลักษณะ 7 ประการ ที่สำคัญของชาววาตะ(Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุเป็นธาตุประจำตัว ดังนี้ 
    • 1.ลักษณะใบหน้า 
    • 2.ลักษณะรูปร่าง 
    • 3.ผิวพรรณ ผม ขน และเล็บ 
    • 4.นิสัยใจคอ บุคลิกภาพ และการเรียนรู้ 
    • 5.น้ำเสียงและลักษณะการพูด 
    • 6.พฤติกรรมประจำวัน 
    • 7.สุขภาพ 
  • โดยชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุเป็นธาตุประจำตัว จะมีลักษณะ 7 ประการ ดังต่อไปนี้
► ใบหน้าของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • รูปหน้าของชาววาตะ (Vata) จะออกยาว หรือเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทั้งตา จมูก ปาก ของชาววาตะก็มักจะมีขนาดเล็ก ชาววาตะควรระวังเรื่องปากที่แห้งคล้ำและโดยเฉพาะเรื่องฟันที่มักผุอยู่เสมอ หรือไม่ก็เหงือกร่นเป็นประจำ
► รูปร่างของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • ชาววาตะ (Vata) มักมีรูปร่างผอมบาง หรือเพรียวลม ไหล่และสะโพกของชาววาตะมักจะแคบ ดูแล้วสัดส่วนค่อนข้างตรง ๆ ไม่ค่อยมีส่วนเว้าส่วนโค้งโดดเด่นนัก ความที่วาตะเป็นธาตุลมที่ผันแปร ส่วนสูงของชาววาตะจึงมักแตกต่างกันเอาแน่เอานอนไม่ได้ ถ้าไม่สูงชะลูดไปเลยก็จะเตี้ยมากจนเห็นได้ชัด บางครั้งคุณอาจเห็นชาววาตะที่ผอมสูง น้ำหนักน้อย แต่ชาววาตะบางคนก็เตี้ยล่ำและมีน้ำหนักมากด้วย
    • ชาววาตะ (Vata) มักได้เปรียบที่กินมากแต่ไม่ค่อยอ้วน เพราะถ้าชาววาตะได้ออกแรงนิดหน่อยก็สามารถกลับมามีน้ำหนักเท่าเดิมได้ทั้งหญิงและชาย และแม้ว่าชาววาตะบางคนจะอ้วนล่ำเตี้ยไปหน่อย แต่ก็จะคงที่อยู่เท่านั้นไปแสนนาน ไม่ค่อยอ้วนจนฉุดไม่อยู่หรือควบคุมไม่ได้
    • แม้ว่าชาววาตะ (Vata) จะผอมแห้งก็จริงแต่พวกเขาก็มีสุขภาพแข็งแรง เรียกว่าผอมแต่มีสุขภาพดี ข้อเสียของการมีรูปร่างผอมบางก็คือ ตามข้อต่อต่าง ๆ ของชาววาตะมักจะมีเสียงกรอบแกรบตลอดเวลายามเดินเหินหรือเคลื่อนไหว เพราะชาววาตะมีธาตุลมอยู่ตามข้อต่อต่าง ๆ มากนั่นเอง
► ผิวพรรณ ผม ขน และเล็บ ของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • ชาววาตะ (Vata) มักจะมีผิวที่ค่อนข้างแห้ง ไม่ค่อยชุ่มชื้น เพราะมีลมเป็นธาตุประจำตัว ผิวมักสาก หยาบหรือกระด้าง ส่วนใหญ่ชาววาตะจะมีสีผิวที่ค่อนข้างคล้ำ ปัญหาที่ชาววาตะต้องระวังก็คือการหลุดลอกของผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ปวดแสบปวดร้อนหรือคันได้ และยังทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายด้วย ชาววาตะต้องระวังให้ดี ไม่ควรไปอยู่ในที่เย็นจัดหรือมีลมแรงเพราะจะทำให้ธาตุลมในตัวเสียสมดุลยิ่งขึ้น เนื้อตัวของชาววาตะจะเย็นอยู่แล้ว การไหลเวียนของเลือดจะไม่สะดวกนัก ชาววาตะจึงควรรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้า และอยู่ในที่อบอุ่น
    • ผมของชาววาตะ (Vata) มักจะหยาบ แห้งกรอบ และมีสีเข้มเกือบดำ หรือดำแบบด้าน ๆ และเนื่องจากหนังศีรษะที่แห้งเพราะขาดความชุ่มชื้น จึงทำให้ชาววาตะมักมีรังแครังควานอยู่ตลอดเวลา
    • ขนของชาววาตะ (Vata) จะเป็นเช่นเดียวกับผม คือออกจะด้าน ๆ ไม่เงางามแล้ว ก็ยังไม่ดก ลักษณะขนค่อนข้างบาง
    • เล็บของชาววาตะ (Vata) จะมีขนาดเล็ก เปราะบาง ซีดเซียวและยังมีคลื่นซึ่งดูอย่างไรก็ไม่สวยงาม ชาววาตะจึงควรทาวาสลีนหรือเบบี้ออยล์ หมั่นทาและนวดถูเล็บบ้าง เพื่อเล็บจะได้มีความเงางาม แข็งแรงและยืดหยุ่นขึ้น
► นิสัย บุคลิกและการเรียนรู้ ของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • ความที่มีธาตุลมเป็นธาตุประจำตัว ชาววาตะ(Vata) จึงเป็นพวกลมเพลมพัด เรียกว่าเอาแน่เอานอนไม่ได้ ยิ่งเรื่องการรักษาเวลาแล้ว ชาววาตะไม่ค่อยใส่ใจนัก การที่ต้องทำงานตรงเวลาจึงเป็นเรื่องที่ฝืนความรู้สึกของชาววาตะมาก
    • แม้ว่าชาววาตะจะเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่เขามักจะเอาชนะใจคนด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่สุดแสนจะมีเสน่ห์ เขาจะเข้ากับคนง่ายแต่ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยทะนุถนอมความสัมพันธ์เท่าไรนัก เรียกว่าดีแค่ช่วงแรก ๆ สุดท้ายชาววาตะจะปลีกวิเวก หามุมส่วนตัว แล้วก็อยู่อย่างสันโดษไปเลย
    • เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ชาววาตะ มักไม่ค่อยคิดมากนัก เขามักจะลงไปคลุกกับปัญหานั้น ๆ ทันทีทันใด ซ้ำยังเป็นประเภทวิตกกังวลเกินเหตุ การได้รับการฝึกสมาธิจะช่วยให้ชาววาตะได้หยุดคิดพิจารณามากขึ้น
    • ชาววาตะ(Vata)  มักจะใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เป็นคนมือเติบ ไม่เห็นความสำคัญของการเก็บออม มักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
    • อย่างไรก็ตาม ชาววาตะ (Vata) เป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ที่จัดว่าเป็นเลิศ เพราะเขามีสมองที่ไม่หยุดนิ่งชอบคิดค้นตลอดเวลา จึงทำให้ชาววาตะ เป็นพวกช่างคิดและติดจะฟุ้งซ่านเกินไป บางครั้งดูเหมือนจะนั่งเลื่อนลอยและลืมไปว่าต้องรับผิดชอบอะไร
    • ชาววาตะ (Vata) จึงควรฝึกในเรื่องของสมาธิและเรื่องของความจำให้มากยิ่งขึ้น เพราะข้อดีของชาววาตะ ก็คือความจำแม่นยำแต่ความจำสั้น ชาววาตะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่ใส่ใจในระยะยาว จะทำอะไรก็ประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้นเอง ชาววาตะ คิดเก่งแต่ไม่ค่อยทำ ซึ่งแท้จริงแล้วก็ไม่ได้ยากเย็นเกินความสามารถของชาววาตะเลย
► น้ำเสียงและลักษณะการพูดของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • ชาววาตะ (Vata) มักมีน้ำเสียงที่แหบพร่า ไม่ก้องกังวาน หรือใสปิ๊ง แต่เป็นพวกช่างพูดช่างจา วันทั้งวันจึงหมดไปกับการพูดคุย เพราะชาววาตะเป็นนักคิด การได้พูดออกมาจึงเหมือนกับการได้ระบายความคิดของเขา ในขณะที่พูดนั้น ชาววาตะมักมีลีลาประกอบการพูดมากมาย ซึ่งเป็นผลมาจากการมีธาตุลมเป็นธาตุประจำตัว จึงทำให้ชอบเคลื่อนไหว ชอบทำอะไรรวดเร็ว และมักจะทำอะไรโดยไม่ได้คิด บางครั้งบุคลิกเช่นนี้ก็ดูจะไม่เรียบร้อย และไม่น่าเชื่อถือเท่าไรนัก หากชาววาตะจะนำการพูดไปใช้ประโยชน์ ทำให้ผู้ฟังมีความสนุกสนาน คล้อยตามและมีความน่าเชื่อถือ ควรจะลดความเร็วและลีลาให้น้อยลงอีกนิดก็จะดีมาก
  • ► พฤติกรรมประจำวันของชาววาตะ (Vata) 
  •     ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
• การขับถ่าย
    • ชาววาตะ (Vata) มักมีปัญหาเรื่องท้องผูก เนื่องจากชาววาตะเป็นธาตุลม แต่ไม่ค่อยมีธาตุน้ำช่วย อุจจาระจึงทั้งแข็งและดำ ชาววาตะจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ แต่ด้วยความที่ชาววาตะเป็นธาตุลมด้วย อาการปรวนแปรแบบลมแพลมพัดจึงทำให้บางวันถ่ายเหลว หรือมีอาการท้องเสียได้
  • • การขับเหงื่อ
    • ชาววาตะ (Vata) มีปัญหากับการขับเหงื่อ เนื่องจากมีธาตุลมเป็นธาตุประจำตัว มือและเท้าจึงเย็นผิดปกติ ที่เหมาะกับชาววาตะจึงควรเป็นที่อุ่น ๆ ไม่มีลมแรง การขับเหงื่อของชาววาตะนั้นก็มีทั้งชาววาตะที่เหงื่อออกมากเป็นพิเศษ จนเหงื่อชุ่มโชกไปทั้งตัว และก็มีชาววาตะที่แทบจะไม่มีเหงื่อเลยแม้จะอยู่กลางแดดจัด แต่โดยมากแล้วชาววาตะมักจะมีเหงื่อน้อย ยิ่งในฤดูหนาวแล้ว ชาววาตะแทบจะไม่สูญเสียเหงื่อเลย
  • • ความอยากอาหาร 
    • ชาววาตะ (Vata) ส่วนใหญ่มีรูปร่างผอม แต่สามารถกินอาหารได้มากเกินตัวและไม่อ้วน หากน้ำหนักเพิ่มขึ้น ก็จะลดลงได้อย่างง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น แต่บางครั้งชาววาตะก็ไม่อยากกินอะไรขึ้นมาเฉย ๆ เรียกว่าหิวจนเสบท้องแต่ก็ไม่ยอมกินอะไร ความเอาแน่เอานอนของชาววาตะ จึงมักปรากฏให้เห็นเสมอ โดยเฉพาะเรื่องการกินอาหาร อย่างไรก็ตามชาววาตะ เป็นคนมีเรียวแรงพลังน้อย ชาววาตะจึงควรกินอาหารให้ตรงเวลา เพราะเป็นคนผอมแห้งมักมีอาการเป็นลมเสมอ เพราะเลือดสูบฉีดไม่ดี ยิ่งไม่ได้มีอาหารตกถึงท้องแล้ว อาการมึนงงและพานจะเป็นลมก็มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ
  • • การนอนหลับ
    • ชาววาตะ (Vata) มักจะคิดมากฟุ้งซ่านในช่วงกลางวัน พอนอนหลับจึงมักจะเก็บไปฝันจนทำให้นอนหลับไม่สนิท บางครั้งหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะฝันร้ายบ่อย พอเช้าขึ้นมาอาการอ่อนเพลียและตาลึกโหลจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ
  • • ความต้องการทางเพศ
    • ชาววาตะ (Vata) ส่วนใหญ่มีความต้องการทางเพศสูง บางครั้งก็อยู่กับกิจกรรมนี้เสียจนไม่เป็นอันทำอะไร แต่บทจะไม่ใส่ใจขึ้นมา ก็สามารถลืมเรื่องนี้ไปได้นานเป็นเดือน ๆ การควบคุมความต้องการทางเพศของชาววาตะ จึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะถ้าหมกมุ่นเกินเหตุก็จะเสียงานเสียการ และร่างกายอ่อนเพลียได้ง่าย แต่ถ้าไม่ใส่ใจอาจทำให้ความสัมพันธ์กับคนรักเสียได้ ชาววาตะส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางเพศบ่อย แต่มักจะมีลูกยาก
► สุขภาพของชาววาตะ (Vata) 
  • ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
    • ชาววาตะ (Vata) นั้นมีแรงอึดค่อนข้างน้อย อ่อนเพลียได้ง่าย จึงต้องระวังเรื่องอาการเป็นลม (แพ้ลมตัวเอง) หอบหืด และระบบทางเดินหายใจ การดื่มน้ำมากสักหน่อยจึงช่วยให้ชาววาตะ กระชุ่มกระชวยขึ้น และยิ่งเป็นน้ำที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมสักหน่อยก็จะช่วยให้สดชื่นขึ้นมาก
    • ชาววาตะ (Vata) มักมีปัญหาเรื่องท้องผูกและท้องเสีย โดยเฉพาะเรื่องท้องผูกที่เป็นปัญหาสำหรับชาววาตะเสมอมา
    • นอกจากนี้ ความตื่นตระหนก ขี้กังวล และขนาดกลัวของชาววาตะ มักมีอาการนอนไม่หลับอยู่เสมอ หากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่แก้ไขก็อาจจะทำให้ชาววาตะเสียสุขภาพในระยะยาวได้ เพราะการขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บตามมาได้
  •  เมื่อคุณได้อ่านลักษณะ 7 ประการ ที่สำคัญของชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุเป็นธาตุประจำตัวแล้ว 
  • เราขอแนะนำให้คุณอ่านลักษณะ 7 ประการ ของชาวปิตตะ และชาวกผะ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะ 7 ประการข้างต้นว่า ตรีโทษ (Tri Dosha) ใดที่ใกล้เคียงกับตัวคุณมากที่สุด 
  • เพื่อให้คุณสามารถดูแลรักษาสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวคุณได้ โดยยึดหลักความสมดุล (ธาตุทั้ง 5) และความแตกต่างของแต่ละบุคคล (ตรีโทษทั้ง 3) ตามแนวทางของอายุรเวท เช่น การดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับธาตุ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับธาตุ การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับธาตุ การนวดให้เหมาะสมกับธาตุ การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยให้เหมาะสมกับธาตุ เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น